เชื่อว่าคนที่ทำธุรกิจบนโลกออนไลน์ส่วนใหญ่น่าจะเคยได้ยินชื่อของ Google Ads มาบ้างแล้ว แต่อาจจะยังไม่รู้ว่า Google Ads คือ อะไร สำคัญยังไงกับธุรกิจ วันนี้ Aday Marketing จะพาคุณไปทำความเข้าใจกับ Google Ads มากขึ้น
โฆษณา Google Ads คือ ?
Google Ads คือบริการจากเว็บไซต์ Google ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มประเภท Search Engine ที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสามารถใช้เพื่อค้นหาสิ่งที่ต้องการ เมื่อผู้ใช้มีการค้นหาบางสิ่งบางอย่าง โฆษณาต่าง ๆ ก็จะปรากฏขึ้น ซึ่ง Google จะเริ่มคิดค่าบริการจากที่มีคนคลิกเข้ามาที่หน้าโฆษณานั้น ๆ หรือคลิกเข้ามาที่หน้าเว็บไซต์ของเรา ความแตกต่างระหว่างผลการค้นหาในรูปแบบของ Google Search Ad และผลการค้นหาแบบออร์แกนิคคือ ผลการค้นหาที่มีการจ่าย Ad จะอยู่ในการโฆษณาประเภท Pay Per Click (PPC) ซึ่งคอนเทนต์หรือเว็บไซต์เหล่านี้จะปรากฏทันที เมื่อมีผู้ค้นหาที่ใช้ Keyword ตรงตัวหรือใกล้เคียงกัน แต่ผลการค้นหาแบบออร์แกนิค คือคอนเทนต์หรือเว็บไซต์ที่ต้องใช้เวลาในการจัดลำดับ ไม่ได้จ่ายค่าโฆษณาเพื่อดันคอนเทนต์ให้อยู่ใน Rank อันดับสูง ๆ ตั้งแต่ต้น แต่ใช้วิธีการสร้างคอนเทนต์แบบธรรมชาติ มีคุณภาพ และมีการใช้เทคนิค SEO ซึ่ง Google จะใช้ระบบอัลกอริทึมวิเคราะห์เพื่อจัดลำดับเว็บไซต์
เรามาดูผลลัพธ์ทางการตลาด จากแบรนด์ที่ทำแคมเปญ PPC หรือ รายได้ที่ได้จากการโฆษณาบน Google Ads กันดีกว่า
- แบรนด์สามารถสร้าง Brand Awareness ได้เพิ่มขึ้น 80%
- 46% ของแบรนด์ที่ทำ Google Ad จะกลายเป็นเว็บไซต์ติดท็อป 3 บนหน้าแรกของการค้นหา
- 46% ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตไม่ได้แยกเว็บไซต์ที่เป็นโฆษณากับเว็บไซต์ทั่วไปบนหน้าผลการค้นหา
- 73% ของโฆษณาในรูปแบบวิดีโอบน Google จะถูกคลิกมากกว่าแบนเนอร์โฆษณาปกติ รายได้เฉลี่ยในการทำ Paid Ad คือ $3 ต่อการลงทุนทุก ๆ $1.6 พูดง่าย ๆ ก็คือคุณสามารถสร้างรายได้เกือบเท่าตัวจากต้นทุน
Google Ads เหมาะกับใคร
ตอบได้เลยว่าเหมาะกับธุรกิจที่มีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง และอยากจะเห็นการเติบโตของ Traffic เข้าเว็บ อยากสร้าง Brand Awareness และอยากบรรลุวัตถุประสงค์ทางการอื่นๆ กับตัวเว็บไซต์ที่เราสร้างขึ้นมา
Google Ad มีลักษณะอย่างไรบ้าง? หนึ่งในวิธีการโฆษณาที่ผู้ประกอบการสามารถนำมาใช้คือ Google Display Network (GDN) ซึ่งเป็นโฆษณาเหล่านี้จะมีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับ Google และมีการลงโฆษณาจากเว็บไซต์ต่าง ๆ ซึ่งผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสามารถเข้าถึงได้อย่างกว้างขวาง มากกว่าการทำ PPC จากการค้นหาบนหน้าเว็บโดยปัจจุบันเว็บไซต์เครือข่ายเหล่านี้มีมากกว่า 2 ล้านเว็บไซต์ นอกจากนี้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตอาจจะเคยได้ยิน หรือเห็น Google Shopping กันมาบ้างบนหน้าผลการค้นหา ซึ่ง Google Shopping Ad ได้รับความนิยมจากนักช้อปออนไลน์เช่นเดียวกัน ลักษณะของ Shopping Ad บน Google จะมีรูปภาพที่หลากหลายจากแบรนด์ต่าง ๆ ปรากฏขึ้นมาจากทางด้านล่างของช่องการค้นหาเพื่อให้ลูกค้าเลือกชมสินค้ากันแบบเต็มอิ่ม โดยรายละเอียดสินค้าจะถูกกำกับเอาไว้ที่ด้านล่างของรูป พร้อมราคา หรือโปรโมชันที่แบรนด์อยากนำเสนอ
สรุป 5 ข้อดีของการใช้เครื่องมือ Google Ad เพื่อช่วยในการโปรโมทสินค้า
1 ช่วยให้กลุ่มเป้าหมายค้นเจอเว็บไซต์ของเราง่ายขึ้น
2 ช่วยควบคุมค่าใช้จ่ายในการโฆษณา
3 ช่วยเลือกแพลตฟอร์มโฆษณาที่เหมาะสม
4 ช่วยค้นหากลุ่มเป้าหมาย ใช้ Keyoword เพื่อให้ลูกค้าค้นหาเว็บไซต์เจอได้ง่ายขึ้น
5 สามารถวัดผลได้ เพิ่มโอกาสในการขายและขยายธุรกิจให้เติบโต
ทีนี้ เราจะพาไปรู้จักกับรูปแบบโฆษณาต่างๆ ของ Google Ads ว่าจริงๆ
แล้ว Google Ads คืออะไร มีอะไรบ้าง และมีจุดเด่นยังไง ลองทำความเข้าใจดูเลย
- Google Search Advertising หรือการโฆษณาบนเครือข่ายค้นหา คือ การทำโฆษณาให้ติดอันดับบนหน้าแสดงผลการค้นหาบน Search Engine (Search Engine Result Page) พูดง่าย ๆ คือการทำโฆษณาให้ติดอันดับบนเว็บไซต์ Google นั่นเอง โดยรูปแบบโฆษณาจะเป็นตัวอักษร องค์ประกอบหลัก ๆ จะมีหัวข้อใหญ่ (Headline) คำอธิบาย (Description) URL และส่วนขยายโฆษณา (Ad. Extension)
จุดเด่นของการทำโฆษณา Google Search Advertising คือความสามารถในการเข้าถึงคนที่มีความสนใจสินค้าหรือบริการ หรือข้อมูลบางอย่างที่จะมาแก้ไขหรือตอบสนองความต้องการของตัวเอง จึงทำให้โฆษณา Google Ads (Google Adwords) – Search อาจมีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดการตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น ถ้าผู้ชมที่ค้นหาสามารถเจอสิ่งที่ตัวเองต้องการ
- Google Display Network (GDN) หรือการโฆษณาบนเครือข่ายดิสเพลย์ คือโฆษณาที่เป็นคล้ายเว็บแบนเนอร์ปรากฏอยู่บนพื้นที่ต่าง ๆ ในเว็บไซต์หรือแอปที่เป็นเครื่อข่ายของ รวมทั้งบนวีดีโอบน YouTube และเว็บไซต์ YouTube ด้วยความสามารถในการเข้าถึงพื้นที่ที่หลากหลาย Google Display Network (GDN) จึงเหมาะสำหรับการสร้างแบรนด์ โปรโมทสินค้าและบริการให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางมากขึ้น ซึ่งหากแบรนด์ สินค้า และบริการเป็นที่รู้จักมากขึ้น ก็อาจจะสร้างยอดขายได้มากขึ้น
- Google Shopping Ads คือการโฆษณาที่มีรายละเอียด ราคา ภาพ และผู้ขายสินค้า ปรากฏอยู่บน Search Engine เลย เพื่อให้ผู้ชมสามารถลิงค์ไปยังหน้าขายสินค้าเพื่อซื้อสินค้าได้ทันที ซึ่งโฆษณา Google Ads (Google Adwords) – Shopping เหมาะสำหรับร้านค้าออนไลน์ที่เน้นให้คนซื้อสินค้าออนไลน์โดยเฉพาะ แต่การทำโฆษณา Google Ads (Google Adwords) – Shopping จำเป็นต้องเชื่อมโยงระบบ Google Ads (Google Adwords) กับเครื่องมือ Google Merchant Center ที่เราได้อัพโหลดข้อมูลต่าง ๆ ของสินค้าก่อน จึงจะสามารถทำโฆษณา Google Ads (Google Adwords) – Shopping ได้
- Universal Campaign (App) คือ โฆษณาที่เน้นให้ผู้ชมดาวน์โหลดแอปไปใช้ โดยโฆษณาจะมีรูปแบบเป็นทั้งโฆษณาแบบ Search, Display และ Video ปรากฏอยู่ใน Search Engine, Google Display Network, YouTube และ Google Play
- Youtube Ads อย่างที่เราทราบกันว่าปัจจุบัน Google เปิดตัว Youtube ประจำประเทศไทยอย่างเป็นทางการ [Youtube.co.th] ตั้งแต่เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ในแง่ของ user ก็สามารถเปิดดูวิดิโอได้เหมือนเดิม ไม่มีอะไรที่เปลี่ยนแปลงหรือน่าตื่นเต้น แต่สำหรับนักการตลาดอย่างเราและผู้สร้าง Content จะมีความตื่นเต้นกับการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้เป็นพิเศษ ด้วยตัวเลขของคนไทยที่เข้าไปดูและใช้งาน Youtube มากเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากอเมริกา และปัจจุบัน Youtube ได้เป็น VDO Social Media Sharing ที่ใหญ่ที่สุด มีผู้เข้าชมมากกว่า 60 ล้านคนต่อเดือน ในปัจจุบันมีผู้สร้างสรรค์คลิปบน Channels ของตัวเองเพิ่มมากขึ้นและยังสามารถหารายได้จากโฆษณาได้อีกด้วย ส่วนข้อดีของนักการตลาดคือเราสามารถซื้อโฆษณาที่จะปรากฏในหน้าวิดิโอต่างๆบน Youtube ได้ง่ายมากขึ้น
โดยเราสามารถเลือกรูปแบบพื้นที่โฆษณาบน Youtube ได้ทั้งหมด 5 รูปแบบหลักๆ ดังนี้
1) In-Search Ads
เป็นโฆษณาที่ประกอบด้วยภาพขนาดย่อจากวิดีโอพร้อมกับข้อความบางส่วน
เพื่อดึงดูดให้ผู้ชมคลิกชมวีดีโอโฆษณานั้น โดยขนาดจะแตกต่างกันไปตามตำแหน่งที่แสดงผล
โฆษณาแบบ In-Search Ads จะปรากฏในหน้าการค้นหาวีดีโอ (Search Results Page)
และหน้าการชมวีดีโอที่เกี่ยวข้องใน Youtube รวมถึงหน้าโฮมของ Youtube สำหรับการแสดงผลบนโทรศัพท์มือถือ
มีการคิดค่าโฆษณาแบบตามจริง โดยระบบจะเรียกเก็บเงินก็ต่อเมื่อผู้ชมเลือกที่จะดูโฆษณา
ของคุณโดยการคลิกที่ภาพขนาดย่อเท่านั้น เหมาะสำหรับวัตถุประสงค์การพิจารณาผลิตภัณฑ์และแบรนด์
.
ควรใช้งานเมื่อ ใช้โฆษณา YouTube Ads รูปแบบ In-Search Ads เพื่อโปรโมตวิดีโอในตำแหน่งที่อยู่ถัดจากวิดีโอที่เกี่ยวข้อง เป็นส่วนหนึ่งของผลการค้นหาใน YouTube หรือในหน้าแรกของ YouTube บนมือถือ วิธีการทำงาน โฆษณา YouTube Ads ของคุณจะประกอบไปด้วยภาพหน้าปกของวิดีโอคุณกับข้อความบางส่วน แม้ว่าขนาดและลักษณะจริงของโฆษณา YouTube Ads อาจแตกต่างกันไปตามตำแหน่งที่ปรากฏ แต่โฆษณาn-Search Ads ก็เชิญชวนให้ผู้ชมคลิกเพื่อดูวิดีโออยู่เสมอ ตำแหน่งโฆษณาที่ปรากฏ บนผลการค้นหาของ YouTube แสดงพร้อมกับวิดีโอ YouTube ที่เกี่ยวข้อง หน้าแรกของ YouTube ที่แสดงผลบนมือถือ การคำนวนค่าใช้จ่าย ระบบจะคิดค่าใช้จ่ายก็ต่อเมื่อผู้ชมเลือกที่จะดูโฆษณาของคุณโดยการคลิกที่ภาพปกวิดีโอขนาดย่อของคุณเท่านั้น
2) In-Stream Ads
วิดีโอโฆษณาแบบที่กดข้ามไม่ได้เช่นกัน แต่เป็นที่นิยมมากกว่าเนื่องจากมีความยาวที่สั้นมาก อยู่ที่ประมาณเพียง 6 วินาทีเท่านั้น จึงสร้างความรำคาญน้อยกว่าโฆษณาที่กดข้ามได้เสียอีก เพราะไม่ต้องไปกดข้ามด้วยซ้ำ เพียงทนฟัง 6 วินาทีก็จะได้รับชมวิดีโอแล้วนั่นเอง
3) โฆษณาแบบข้ามได้ (Skippable ads) และ โฆษณาแบบข้ามไม่ได้ (Non-skippable ads)
3.1) โฆษณา YouTube Ads รูปแบบ Skippable ads
นั้นเป็นโฆษณา YouTube Ads ที่สามารถกดข้ามได้ โดยจะปรากฏในหน้าที่แสดงวิดีโอของ YouTube เว็บไซต์และธุรกิจที่เป็นพาร์ทเนอร์กับ Google เช่น แอปพลิเคชั่น หรือเกม โดยลิงก์ในวิดีโอจะนำไปสู่เว็บไซต์ของผู้โฆษณา เป้าหมายในการทำโฆษณา YouTube Ads แบบ TrueView In-Stream Ads เพิ่มโอกาสในการขาย การเข้าชมเว็บไซต์ การรับรู้แบรนด์และการเข้าถึง การพิจารณาผลิตภัณฑ์และแบรนด์ ควรใช้งานเมื่อ ใช้โฆษณา YouTube Ads รูปแบบ Skippable ads เมื่อคุณมีคอนเทนต์วิดีโอที่ต้องการโปรโมตก่อนวิดีโออื่น ๆ บน YouTube และเครือข่าย Display ต่าง ๆ เพราะโฆษณา YouTube Ads รูปแบบ TrueView In-Stream Ads นั้นมีการคิดค่าใช้จ่ายเมื่อผู้ชมดูโฆษณาไปจนถึง 30 วินาที แต่ผู้ชมสามารถกดข้ามได้ตั้งแต่ 5 วินาทีแรกทำให้เราสามารถคัดกรองลูกค้าที่มีแนวโน้มสนใจได้อย่างชัดเจน
วิธีการทำงาน โฆษณาของคุณจะเล่นก่อนวิดิโอ ระหว่างวิดิโอ หรือหลังจากวิดีโอทั่วไป ผู้ชมจะสามารถเลือกกดข้ามโฆษณาได้หลังจาก โฆษณาเล่นไป 5 วินาที ตำแหน่งโฆษณาที่ปรากฏ หน้าสำหรับดู YouTube วิดีโอในเว็บไซต์ของพาร์ทเนอร์ แอปพลิเคชั่นในเครือข่าย Display ต่าง ๆ การคำนวนค่าใช้จ่าย CPV (Cost Per View) หมายถึงจะมีการคิดค่าโฆษณาต่อการชมวิดีโอ 1 ครั้ง เมื่อผู้ชมชมวิดีโอครบตามเวลาที่กำหนดคือ 30 วินาที (หรือช่วงเวลาหนึ่ง ถ้าวิดีโอสั้นกว่า 30 วินาที) หรือโต้ตอบกับวิดีโอของคุณ ขึ้นอยู่กับว่ากรณีใดเกิดขึ้นก่อน CPM (Cost Per Thousand Impression) หมายถึงจะมีการคิดค่าโฆษณา ต่อเมื่อมีการแสดงผลโฆษณาครบ 1,000 ครั้ง โดยไม่สนใจว่าจะมีการคลิกโฆษณากี่ครั้ง
3.2) โฆษณาแบบข้ามไม่ได้ (Non-skippable ads)
โฆษณาในสตรีมแบบกดข้ามไม่ได้ ยาว 15 วินาที (หรือสั้นกว่า) โดยจะปรากฏก่อน ระหว่าง หรือหลังจากวิดีโออื่น ๆ โดยโฆษณาสามารถแสดงบนเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน และ Display Network ต่าง ๆ ที่เป็นพาร์ทเนอร์ของ Google ได้
มีการคิดค่าโฆษณาแบบ CPM (Cost Per Thousand Impression) ตามการแสดงผลโฆษณา 1,000 ครั้ง เหมาะสำหรับการสื่อสารที่ต้องการให้ผู้ชมเห็นข้อความทั้งหมดโดยไม่กดข้ามวิดีโอของคุณ ในวัตถุประสงค์การรับรู้และการเข้าถึงแบรนด์
เป้าหมายในการทำโฆษณาแบบ Non-Skippable Video Ads การรับรู้แบรนด์และการเข้าถึง ควรใช้เมื่อใด ใช้รูปแบบนี้เมื่อคุณต้องการให้ผู้ชมได้เห็นข้อความทั้งหมด ที่แบรนด์ต้องการจะสื่อสารออกไป การเปิดตัวสินค้าใหม่ หรือการจัดโปรโมชั่น วิธีการทำงาน โฆษณา YouTube Ads ในสตรีมแบบข้ามไม่ได้มีความยาวไม่เกิน 15 วินาที และเล่นก่อนวิดิโอ ระหว่างวิดิโอ หรือหลังจากวิดีโออื่น โดยผู้ชมจะข้ามโฆษณานี้ไม่ได้ ตำแหน่งโฆษณาที่ปรากฏ ในวิดีโอ YouTube เว็บไซต์ของพาร์ทเนอร์ แอปพลิเคชั่นในเครือข่าย Display ของ Google การคำนวนค่าใช้จ่าย คุณจะจ่ายเงินตามการแสดงผล โฆษณาแบบ Non-Skippable Video Ads คำนวนค่าใช้จ่ายแบบ CPM (Cost Per Thousand Impression) หมายถึงจะมีการคิดค่าโฆษณา ต่อเมื่อมีการแสดงโฆษณาครบ 1,000 ครั้ง
- Overlay in-video ads
โฆษณาตัวนี้ก็คล้ายๆ กับตัว Banner รูปแบบแรกที่แสดงภาพหรือข้อความเท่านั้น แต่เป็นการแสดงซ้อนบนตัววีดีโอไปอีกที จะเห็นเมื่อเล่นวิดีโอไปถึงส่วนที่ตั้งค่าให้ใส่ Ads ตัวนี้ไว้
- TrueView in-display ads
วีดีโอจะไปปรากฎอยู่ข้างๆ หรือข้างล่างของตัววีดีโอหลัก ซึ่งตรงนี้เราสามารถเลือกแสดงโฆษณากับกลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการให้เห็นตัวโฆษณานี้ได้ (เช่นจากคีย์เวิร์ดค้นหา เป็นต้น) นอกจากนี้แล้ว โฆษณาดังกล่าวจะคิดเงินกับคนลงโฆษณาต่อเมื่อมีการคลิกเข้าไปดูวีดีโอเท่านั้น
ทำไมต้อง Youtube
อย่างที่ได้เกริ่นไปแล้วว่า Youtube เนี่ยเป็นที่นิยมอยากมากในทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าจะเบื่อเหงาเศร้าซึมขนาดไหน แค่เปิด Youtube ขึ้นมาเราก็แฮปปี้ขึ้นมาได้ในทันใดแล้วนั่นเอง ได้เลือกดูในส่ิงที่เราสนใจ ทำให้ใครๆ ก็ใช้งาน Youtube ยิ่งในไทยยิ่งมีการเติบโตแบบก้าวกระโดดอย่างมากเชียวหล่ะ
ทำอย่างไรให้ประสบความสำเร็จในการทำ Youtube Ads
1 : ทำโฆษณาให้มีความน่าสนใจเสมอ
โฆษณาบน YouTube ต้องทำให้ดูน่าสนใจ โดยเฉพาะการใช้ Skippable Video Ads หรือ โฆษณาที่ลูกค้าสามารถกดข้ามได้หลังจากผ่านไปแล้ว 5 วินาที
2 : รู้ว่าผู้ชมของเราคือใคร
การสร้างสรรค์โฆษณาขึ้นมาสักหนึ่งตัว นอกจากการรู้ว่าจะเล่าอะไรแล้ว เรายังจำเป็นที่จะต้องรู้ว่าผู้ชมของเราคือใคร รวมทั้งจุดประสงค์ในการเข้าใช้ YouTube ของผู้ชมคนนั้น ๆ เพราะการเข้า YouTube ของแต่ละคนมีจุดประสงค์ที่หลากหลาย บ้างก็มีความต้องการที่จะผ่อนคลาย บ้างต้องการที่จะหาความรู้ การที่เราทำโฆษณาออกมาได้ตรงกับความต้องการให้ผู้ชมดูจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ
3 : อย่าใช้โฆษณาแค่รูปแบบเดียว
เพราะ YouTube Ads มีรูปแบบการโฆษณาที่หลากหลาย การเลือกใช้เพียงรูปแบบเดียวอาจทำให้เราพลาดโอกาสที่จะทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อได้ โดยการใช้รูปแบบ YouTube Ads ร่วมกันจะช่วยเพิ่มโอกาสปิดการขายให้มันเพิ่มขึ้นไปอีก
4 : ทำการศึกษาการใช้ Keyword
YouTube Ads ก็เหมือนกับการโฆษณาออนไลน์ทั่วไป ที่การเลือกใช้ Keyword มีผลอย่างมากในการโฆษณา ดังนั้นเราจึงควรจำให้ขึ้นใจ ว่าก่อนที่จะเริ่มการโฆษณาใด ๆ เราควรจะศึกษา Keyword ที่จะใช้ให้ดีเสียก่อน โดยการหมั่นศึกษาเกี่ยวกับการเลือกใช้ Keyword จะช่วยให้เรารู้ว่าลูกค้ากำลังต้องการอะไร ซึ่งจะช่วยเป็นไกด์ให้เราสร้างสรรค์โฆษณามาตอบสนองความต้องการได้อย่างดี
5 : หมั่นทำการทดลองใหม่ ๆ อยู่เสมอ
การตลาดออนไลน์ เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้อยู่เสมอ ซึ่งต่อให้แผนที่เราใช้ในปัจจุบันจะดีสักแค่ไหน แต่ก็รับประกันไม่ได้ว่าในอนาคตอาจมีแผนอื่นที่ดีกว่า การหมั่นทำการทดลองเพื่อค้นหาว่าแคมเปญ YouTube Ads แบบไหน ที่เหมาะจะนำมาใช้กับธุรกิจของเราจึงจำเป็น เพื่อไม่ให้สูญเสียโอกาสที่จะเพิ่มยอดขาย หรือ พัฒนาการทำการตลาดให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6 : ระบุแบรนด์ให้ไว แต่ต้องทำให้ดี
หรับการโฆษณารูปแบบ Skippable Video Ads ที่ผู้ใช้สามารถกดข้ามได้ ถ้าหากเราทำได้ไม่น่าสนใจ ก็มีสิ่งหนึ่งที่พอจะทดแทนได้นั่นคือ การเผยตัวแบรนด์ออกมาภายใน 5 วินาที ซึ่งทาง YouTube ก็ได้มีสถิติยืนยันจริง ๆ ว่าการโฆษณาที่มีเป้าหมายในการเพิ่มการรับรู้แบรนด์ (Awareness) ส่วนใหญ่จะมีประสิทธิภาพสูงสุดได้ถ้ามีการระบุแบรนด์ตั้งแต่ 5 วินาทีแรก
7 : บอกผู้ชมทุกครั้ง ว่าหลังจากนั้นต้องทำอะไร
มันคงจะดีถ้าลูกค้าเห็นโฆษณาของเราแล้วจำได้ว่าแบรนด์คืออะไร แต่มันจะดีขึ้นไปอีกไหม ถ้าเรามีการไกด์ให้ลูกค้าทำตามที่เราต้องการ ซึ่งสิ่งแรกที่เราจำเป็นจะต้องทำก็คือการรู้ว่าเป้าหมายของโฆษณาครั้งนี้คืออะไร คือการรับรู้แบรนด์ใช่ไหม หรือ ถ้าเกิดเป้าหมายของเราคือ ยอดขาย, ข้อมูลลูกค้า และ เพิ่มจำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ สิ่งที่เราสามารถทำได้นั่นก็คือการเพิ่ม Call to Action เข้าไปนั่นเอง
อยากทำการตลาดง่ายๆ ให้ Google Ads Aday Marketing สามารถช่วยคุณได้
จุดเริ่มต้นก้าวสำคัญของคุณ…ให้เราดูแลที่ Aday Markerting
.
https://www.www.adaymarketing.com/
.