ไขข้อสงสัยค่า CPC และ CPM คืออะไร? สำคัญอย่างไร? ทำไมเหล่านักการตลาดมือใหม่ ก่อนเริ่มทำการตลาดบน Google ต้องรู้!!
CPC ย่อมาจาก Cost Per Click หรือต้นทุนต่อการที่ลูกค้าคลิกเข้าชมโฆษณาของเราใน
1 ครั้งนั้นเอง อาทิเช่น หากลูกค้าคลิกโฆษณาของเรา ก็จะเกิดค่าใช้จ่ายขึ้น
ในราคาที่กำหนดไว้ เช่น คลิกละ 1 บาท หรือคลิกละ 5 เป็นต้น
.
CPC สำคัญอย่างไร?
รู้หรือไม่ค่า CPC ถือเป็นส่วนที่สำคัญมากในการทำแคมเปญบน Google สาเหตุเพราะ
หากต้นทุนการคลิกสูง นั้นหมายความว่าเรากำลังจ่ายเงินเกินความจำเป็นอยู่
ซึ่งผลตอบแทนในการลงทุนโฆษณาของเราจะน้อยลง ดังนั้นเราจึงควรที่จะมองหา
กลยุทธ์ในการปรับเปลี่ยนแคมเปญเพื่อให้ได้ต้นทุนต่อการคลิกที่ถูก และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น
.
หากค่า CPC แพง ควรแก้ไขอย่างไร?
ก่อนอื่นเราต้องเพิ่ม Quality Score โดยมาดูที่ปัจจัยภายในก่อนเป็นอันดับแรก
- 1 รูปแบบโฆษณา น่าสนใจไหม
- 2 Ad Group ตรงกลุ่มเป้าหมายหรือไม่
ซึ่งหากเราพบว่ารูปแบบโฆษณาไม่น่าดึงดูด เราก็ต้องทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายใหม่
และออกแบบรูปแบบโฆษณาให้น่าดึงดูดมากขึ้น อีกทั้งควรที่จะลองปรับ Ad Group ดูใหม่อีกครั้ง
โดยเลือกคีย์เวิร์ดที่คาดว่ากลุ่มเป้าหมายเราจะใช้ แล้วทำการทดสอบผลลัพธ์
แต่สุดท้ายเราก็ต้องความเข้าใจว่าในระยะแรก คีย์เวิร์ดที่เลือกมาอาจไม่ตรงกลุ่มจนทำให้เราต้องเสียค่าใช้จ่ายฟรี เพราะได้ลูกค้าที่ไม่ตรงกับตัวธุรกิจ ดังนั้นการใช้ Negative Keywords ใน Google Adwords จะช่วยลดค่า CPC ให้ถูกลงได้
แถมยังตัดคนที่ไม่ใช่ลูกค้าของเราออกไปได้อีกด้วย
.
CPM ย่อมาจาก cost per thousand impressions
หลักการทำงานของค่า CPM คือ เราจะจ่ายเงินให้ทางฝั่งของ Google ก็ต่อเมื่อมีการแสดงโฆษณาให้ผู้คนเห็น ครบ 1,000 ครั้งเท่านั้น โดยค่าโฆษณาจะอยู่ที่เท่าไหร่ก็ขึ้นอยู่กับระบบการประมูลของ Google
สูตรที่ใช้คำนวณ คือ CPM = Cost x 1000 / Impression
ตัวอย่างเช่น เงินค่าโฆษณา = 50,000 บาท จำนวนผลที่แสดงโฆษณา 200,000 ครั้ง ราคาที่เราต้องจ่ายต่อการแสดงผลโฆษณา 1,000 ครั้ง (CPM) จะเท่ากับ 50,000 x 1000 / 200,000 = 250
การทำโฆษณาในรูปแบบ CPM เหมาะกับธุรกิจไหนบ้าง?
ธุรกิจที่เหมาะสมจะเป็นธุรกิจที่เน้นสร้างการรับรู้แบรนด์เป็นหลัก เน้นการจดจำ อาทิเช่น ธุรกิจบ้านจัดสรร ธุรกิจที่อยากสร้างภาพลักษณ์โดยไม่เน้นการขายอย่างเดียว
.
CPA ย่อมาจาก Cost Per Acquisition หรือ Cost Per Action
โมเดลในการคิดค่าโฆษณาต่อหนึ่งการกระทำ (Action) ที่เกิดขึ้นในเว็บไซต์เช่นการสั่งซื้อสินค้า การสมัครสมาชิก การลงทะเบียน การดาวน์โหลดไฟล์ เป็นต้น หมายความว่าผู้ลงโฆษณาจะจ่ายเงินเฉพาะเมื่อลูกค้าคลิกโฆษณาเข้าไปในเว็บไซต์แล้วกระทำบางอย่างที่เป็น Conversion เท่านั้น
(Conversion คือการสั่งซื้อสินค้า สมัครสมาชิก ลงทะเบียน ดาวน์โหลดไฟล์) หากลูกค้าคลิกเข้าชมโฆษณาแต่ไม่ได้ซื้อสินค้า ผู้ลงโฆษณาก็จะไม่เสียเงินค่าโฆษณา เป็นโมเดลยอดนิยมของบรรดาผู้ให้บริการ Affiliate ทั้งหลาย
CPA ราคาสูงควรทำอย่างไร?
CPA ราคาถูก เป็นสิ่งที่เหล่าคนที่คนทำการตลาดออนไลน์ต้องการอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นฝั่งแบรนด์ หรือฝั่งเอเจนซี่เองก็ตาม สำหรับคนที่ทำ Digital Marketing มือใหม่ ขอนิยามคำศัพท์กันก่อน CPA มีคำย่อมากจาก Cost per Action หรือ Cost per Acquisition คือการที่ราคาต่อ Conversion อยู่ที่เท่าไรนั่นเอง ตัวอย่างคือ ถ้าสมมติว่าเราโฆษณาให้คนลงทะเบียน จำนวนเงินที่ใช้ไปทั้งหมดคือ 1,000 บาท ได้คนลงทะเบียนมาทั้งหมด 4 คน หมายความว่า ราคาต่อคนที่ลงทะเบียนหรือ CPA อยู่ที่ 250 บาท นั่นเอง ถ้าให้เข้าใจง่ายกว่านั้นคือ Cost per Conversion ก็ว่าได้ แต่ไม่นิยมเรียกชื่อย่อว่า CPC เพราะ CPC นิยมเรียกใช้แทน Cost per Click มากกว่า
สำหรับใครที่ประสบปัญหา CPA ราคาสูง ต้องการให้ CPA ราคาต่ำลง แต่ก็กลัวว่า เมื่อราคา CPA ต่ำลงจะเป็นปัญหาคุณภาพของ Conversion เพราะการแก้ไขปัญหาที่คิดได้แรก ๆ สำหรับการลด CPA ลงเช่น ขยายพื้นที่ หรือขยายกลุ่มเป้าหมาย เพิ่มคีย์เวิร์ดให้มากขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้แน่นอนว่าจะช่วยลด CPA ได้อย่างมีนัยยะสำคัญ แต่อย่าลืมไปว่าเมื่อเราเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายไปแล้ว กลุ่มเป้าหมายใหม่ที่เราเลือกนั้นใช่กลุ่มเป้าหมายที่มีศักยภาพจริงหรือไม่ ถึงแม้ CPA จะลดลงก็จริง แต่คุณภาพของ Conversion ต่ำลงไปด้วย จึงอาจไม่ใช่เหตุผลที่ดีนักในการทำแบบนี้ นับว่าแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ
เทคนิคที่ต้องการให้ CPA มีราคาที่ต่ำลง แต่ยังคุณภาพของ Conversion ไว้ ก็นับว่ายังมีหนทางอยู่ เช่น
- ข้อความและรูปภาพสำหรับการใช้โฆษณา ดีพอหรือยัง?
ข้อความและรูปภาพเป็นเหมือนกับประตูด่านแรกที่หลายคนต้องเจอ ลองอ่านดูว่าสื่อตรงจุดประสงค์ที่เราต้องการจะสื่อหรือไม่ รูปภาพนั้นดูปราดเดียวแล้วเข้าใจเลยไหมว่าเป็นโฆษณาธุรกิจเกี่ยวกับอะไร อย่าใส่เยอะ อย่าทำให้สับสน ควรจะมีไดเร็คชันเดียวสำหรับการทำโฆษณาในหนึ่งชิ้น เมื่อดูแล้วว่าโฆษณาของเราก็สื่อสารได้เคลียร์ดี รูปภาพก็สวยงาม สื่อก็ตรง ลองใช้โปรโมชันบ้าง แน่นอนว่าราคา CPA จะลดลง และยังคงคุณภาพของ Conversion ไว้ได้ด้วย
- Landing Page เหมาะสมหรือไม่
เมื่อผ่านประตูด่านแรกมาแล้ว ก็พบกับห้องนั่งเล่นอย่าง Landing Page แน่นอนว่าคุณภาพของ Landing Page ประเมินได้หลายด้านมาก เช่นจำเป็นที่จะต้องโหลดเร็ว, มีปุ่ม Call to Action ชัดเจน, ต้องรองรับ Mobile Friendly เนื่องจากในปัจจุบันคนเข้าเว็บไซต์ผ่านมือถือเยอะขึ้นจำเป็นเท่านั้น, รูปแบบฟอร์มมีให้กรอกข้อมูลเยอะเกินความจำเป็นหรือไม่ ยิ่งเยอะมากนั่นหมายความว่าคนจะไม่สะดวกใจที่จะให้ข้อมูล ทำให้ CPA แพงได้ แนะนำให้นำเฉพาะการกรอกข้อมูลที่จำเป็นเท่านั้น, Landing Page ออกแบบได้สับสนหรือไม่ ต้องออกแบบให้สอดคล้องตามหลักของ UI/UX ด้วยเช่นกัน
- ลองทำ A/B Testing
A/B Testing คือการวัดด้วยการเปลี่ยนตัวแปรใดตัวแปรหนึ่ง เพื่อทดลองวัด CPA ว่ามีราคาที่ถูกลงหรือไม่ ส่วน Conversion ที่ได้มานั้นมีคุณภาพจริงหรือเปล่า ซึ่งการทำ A/b Testing สามารถทำได้หลายอย่าง อาจเริ่มตั้งแต่ตัวโฆษณา ทั้งแบนเนอร์ วิดีโอ หรือตัวข้อความเอง หรือถ้าอยากลองกลุ่มเป้าหมายใหม่ ๆ แล้วเทียบกลับกลุ่มเดิมว่าเป็นอย่างไร หรือแม้กระทั่งการทำ A/b Testing ของ Landing Page ก็ทำได้เช่นกัน เราสามารถนำตัวเลขที่ได้มาเปรียบเทียบกัน เมื่อตัวแปรไหนที่ได้ CPA ไม่แพง และยังคงคุณภาพของ Conversion ไว้ได้ ก็ให้ใช้ตัวแปรนั้นเป็นหลั
การที่จะทำให้ CPA ราคาถูก ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก ที่จะยังคงประสิทธิภาพของ Conversion ไว้ได้ แต่เราสามารถเลือกที่จะจัดสมดุลของทั้งสองตาชั่งนี้ไปไว้ด้วยกันได้ เพราะถึงแม้ว่า CPA จะถูกก็จริง แต่คุณภาพของ Conversion แทบไม่มี นั่นก็ไม่ใช่ทางที่แฮปปี้เท่าไรนัก แต่ถ้ามี CPA สูงมาก แต่จำนวน Conversion น้อย ถึงแม้จะมีคุณภาพ แต่อัตราการได้ลูกค้าน้อย ก็มิอาจทำให้ธุรกิจเติบโตได้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องบาลานซ์หาจุดสมดุลให้ได้
ทำความรู้จัก ประเภทของ Bidding Strategy
เพราะกลยุทธ์เสนอราคา ไม่ได้มีแค่ CPC หรือ Cost Per Click เพียงอย่างเดียว แต่คุณสามารถกำหนดกลยุทธ์ได้หลากหลายรูปแบบ ตามเป้าหมายการตลาดที่คุณวางไว้นั่นเอง จะมีอะไรบ้าง ไปอ่านกันเลย
- Manual CPC (Cost Per Click)
กลยุทธ์นี้จะเรียกง่ายๆ ว่าการกำหนดราคาต่อหนึ่งคลิกเอง การเสนอราคาวิธีนี้ให้คุณกำหนดราคาต่อหนึ่งคลิก (CPC) สูงสุดสำหรับโฆษณาของคุณเอง ซึ่งแตกต่างจากกลยุทธ์การเสนอราคาอัตโนมัติซึ่งทาง Google จะตั้งราคาเสนอให้กับคุณ ซึ่งมีข้อดีคือ คุณสามารถควบคุมจำนวนเงินสูงสุดที่คุณยินจ่ายสำหรับการคลิกโฆษณาของคุณแต่ละครั้งได้ ข้อดีของการกำหนดราคาสูงสุดเองนั้น คือเราจะสามารถเลือกได้ว่า คีย์เวิร์ดตัวไหนทำกำไร ได้มากน้อยที่่สุด ซึ่งหากคุณรู้จักคีย์เวิร์ดทุกตัวดีแล้วนั้น ก็จะรู้ว่าตัวไหนควรลงทุน กำหนด CPC ให้สูงๆ หรือตัวไหน ไม่ได้สำคัญมากหรือทำกำไรน้อย ก็กำหนด CPC ไม่ต้องสูงมากนั่นเอง อีกทั้งยังเหมาะกับคีย์เวิร์ดที่มีการแข่งขันที่สูงไปมาก เช่น 100 บาทขึ้นไป หากคุณมีงบน้อยก็อาจจะสู้ไม่ไหว จึงต้องกำหนดราคาเสนอเอง
เป้าหมายของกลยุทธ์นี้ – เพิ่มจำนวนการชมเว็บไซต์ แบบคุมต้นทุน
กลยุทธ์นี้จะเน้นเพิ่มคนชมเว็บไซต์ เช่นเดียวกับ Maximize Click แต่เราจะไม่ให้ Google เสนอราคา เพราะเราจะกำหนดราคาเอง ซึ่งตัว Manual CPC จะช่วยให้คุณจัดการราคาเสนอ CPC ( Cost Per Click) สูงสุดได้ด้วยตัวเอง หากคุณมีงบประมาณอย่างจำกัด ทั้งนี้คุณสามารถตั้งค่าราคาเสนอที่แตกต่างกันให้กับกลุ่มโฆษณาแต่ละกลุ่มในแคมเปญ หรือให้กับคีย์เวิร์ดหรือตำแหน่งแต่ละรายการ หากคุณพบว่าคีย์เวิร์ดบางคำหรือตำแหน่งบางตำแหน่งสามารถสร้างกำไรได้มากเป็นพิเศษ
นั่นหมายถึง จัดเป็นกลยุทธ์ที่คุมต้นทุนต่อคลิก ทุกคีย์เวิร์ดเลยทีเดียว เพราะเราเป็นคนกำหนดราคาเสนอเอง ซึ่งเราสามารถตั้งค่า bid ในระดับ Campaign หรือ Ad Group เอง เหมาะมาสำหรับเว็บไซต์ที่ยังไม่มีการติดตั้ง Conversion Tracking
- Target Search Page Location
วิธีการทำงานของกลยุทธ์นี้ก็คือ Google Ads จะเพิ่มหรือลดราคาเสนอของคุณโดยอัตโนมัติเพื่อแสดงโฆษณาที่ตำแหน่งบนสุดของหน้าเว็บ หรือในหน้าแรกของผลการค้นหาของ Google ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่ สามารถทำงานได้กับแคมเปญที่กำหนดเป้าหมาย เครือข่ายการค้นหาเท่านั้น โดยจะ Bid แบบคุมราคาในไม่ให้เกินงบที่เราตั้งไว้ แต่ก็พยายามที่จะชนะ เว็บที่ bid ในหน้าแรกของหน้าค้นหาจาก keyword นั้นๆ ไปด้วย
เป้าหมายของกลยุทธ์นี้ – สร้าง Brand Awareness
หากคุณอยากให้คนรู้จักเว็บไซต์ หรือแบรนด์ของคุณมากขึ้นนั้น ให้เลือกใช้กลยุทธ์ Target Search Page Location เนื่องจากจะสามารถช่วยเพิ่ม Impression กับ CTR (Click Through Rate) ให้กับเว็บไซต์ได้ ยกตัวอย่างง่ายๆ คือ หากเรามีแคมเปญสร้าง Brand Awareness ที่อยากให้คนพื้นที่นั้นๆ มาเข้าเว็บไซต์เรา แต่คีย์เวิร์ดดันเป็นประเภทแบบกว้าง ระบบก็จะทำการหาใครก็ตามที่ค้นหาคำนั้นๆ ที่เกี่ยวข้องกับแคมเปญเรา โชว์แคมเปญของเราขึ้นให้หมดนั่นเอง
- Target CPA (Cost per Acquisition)
Target CPA คือกลยุทธ์ Smart Bidding ของ Google Ads ที่กำหนดราคาเสนอเพื่อช่วยให้ได้รับ Conversion มากที่สุดในต้นทุนต่อการดำเนินการ (CPA) เป้าหมายที่ตั้งไว้หรือน้อยกว่านั้น โดยทาง Google จะใช้ระบบการเรียนรู้ขั้นสูงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพราคาเสนอโดยอัตโนมัติ มีจุดเด่นคือ Google จะทำนายล่วงหน้าเลยว่าคลิกโฆษณาไหนของลูกค้าจะนำไปสู่การกระทำที่เราอยากให้ลูกค้าทำ ( Action ) ทั้งยังมีความสามารถในการเสนอราคาตามเวลาจริงในการประมูลที่จะปรับราคาเสนอสำหรับการประมูลแต่ละครั้ง Target CPA จะกำหนดราคาเสนอในการลงโฆษณาโดยอัตโนมัติเพื่อช่วยให้คุณได้รับ Conversion มากที่สุดที่ต้นทุนต่อการดำเนินการ (CPA) เป้าหมายที่ตั้งไว้ ทั้งนี้ Conversion บางรายการอาจมีราคาสูงหรือต่ำกว่าที่คุณตั้งเป้าไว้ ซึ่งจริงๆแล้วเราสามารถเรียกกลยุทธ์นี้ ได้อีกชื่อหนึ่งว่า “เครื่องมือเพิ่มประสิทธิภาพ Conversions”
เป้าหมายของกลยุทธ์นี้ – เพิ่ม Conversion ด้วย CPA เป้าหมาย
สำหรับกลยุทธ์นี้ ก็มีเป้าหมายตามชื่อของมันเลย ก็คือเพื่อเพิ่ม Conversions ให้ได้มากที่สุด ตามต้นทุนที่วางไว้ ต่อลูกค้าหนึ่งคนที่เราได้มา นั่นหมายถึง ราคาต้นทุนต่อคลิกจะไม่สำคัญ จะเท่าไหร่ก็ได้ แต่ขอให้ได้ Action หรือคลิกที่สามารถทำกำใรให้ธุรกิจเราก็พอ
โดยทาง Goolgle จะทำการคำนวนให้เรียบร้อยเลย ว่าคลิกที่ลูกค้าเกิดการกระทำนั้น มีต้นทุนเท่าไหร่ ตัวอย่างเช่น คุณคือเว็บไซต์ร้านอาหาร Conversions ที่กำหนดไว้คือ อยากให้คนโทรมาจองโต๊ะ ซึ่งคุณทราบดีว่า ใน 10 คน ที่จองนั้น จะเรียกใช้บริการจริงๆ เพียง 2 คนเท่านั้น (Conversion Rate = 20%) และต้องมีอีกข้อมูลประกอบคือ กำไรเฉลี่ยต่อโต๊ะที่จองจะอยู่ที่ 500 บาท ดังนั้นถ้าต้องการทำกำไร ต้องให้คนมาจองใช้บริการเยอะพอจนต้นทุนต่อคนที่มาจองน้อยกว่า 100 บาทให้ได้ และเราก็ตั้งค่านี้กับ Google ให้ Google ไปหาคนมาจองให้มากที่สุดจนต้นทุนที่ว่าน้อยกว่า 100 บาท
- Maximize Click
Maximize Click หมายถึง การกำหนดราคาเสนอโดยอัตโนมัติเพื่อให้คุณได้รับคลิกมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ภายในงบประมาณที่ตั้งไว้
ซึ่งหมายถึง Google จะทำการการเพิ่มจำนวนคลิกสูงสุด โดยเป็นการเสนอราคาแบบอัตโนมัติ ซึ่งก็มีวิธีการง่ายๆ คือ Google จะทำการ Bid ราคาให้กับ Keyword ที่เรามีในโฆษณาทั้งหมด ทั้งนี้เราสามารถตั้งค่าได้ว่า อยากให้ Google เสนอราคาไม่เกินเท่าไหร่ เพื่อเป็นคุมงบประมาณ ซึ่งกลยุทธ์นี้จะเหมาะมาก ถ้า Keyword นั้นๆ มีการค้นหาน้อย แต่ผู้ลงโฆษณาอยากได้คนชมเว็บไซต์จากคีย์เวิร์ดดังกล่าวให้มากที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้
เป้าหมายของกลยุทธ์นี้ – เพิ่มการเข้าชมเว็บไซต์
สำหรับการใช้กลยุทธ์นี้ ก็เหมาะสำหรับเว็บไซต์ที่ต้องการเพิ่มผู้เข้าชมเว็บไซต์ให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ หลายคนอาจจะสงสัยว่า
ทำไมต้องให้คนเข้าเว็บไซต์เยอะๆ ด้วยล่ะ? มีประโยชน์อย่างไร เราขออธิบายเพิ่มเติมว่า การกำหนดกลยุทธ์ราคาแบบ Maximize Click นั้น เหมาะสำหรับเว็บไซต์ที่เปิดใหม่ๆ ที่ยังไม่คนรู้จักมาก และไม่ได้มีเป้าหมายทางการตลาดที่ชัดเจน จึงจำเป็นต้องให้คนคลิกชมเว็บไซต์เยอะที่สุด เพื่อที่จะได้เก็บข้อมูล เรียนรู้พฤติกรรมของผู้ชมนั่นเอง
- Target ROAS (Return on Ad Spend)
สำหรับกลยุทธ์ Target ROAS จะเป็นกำหนดราคาเสนอโดยอัตโนมัติเพื่อช่วยเพิ่มมูลค่า Conversion ของคุณให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ตามผลตอบแทนจากค่าโฆษณา (ROAS) เป้าหมายที่คุณกำหนดไว้ Conversion บางรายการอาจมีผลตอบแทนสูงหรือต่ำกว่าเป้าหมาย ก็ขึ้นอยู่กับความคุ้มค่านั่นเอง ซึ่งเหมาะสำหรับโฆษราที่อยากติดตามการกระทำของกลุ่มเป้าหมาย หรือ Conversion มากกว่าหนึ่งอย่าง แต่การกระทำแต่ละครั้งมีมูลค่าต่างกัน
เป้าหมายของกลยุทธ์นี้ – ได้ผลตอบแทนจากค่าโฆษณา (ROAS) ตามเป้าหมายเมื่อคุณกำหนดมูลค่าของแต่ละ Conversion ไม่เท่ากัน
หากโฆษณาของคุณมีการกำหนด Conversion มากกว่าหนึ่งอย่างนั้น กลยุทธ์นี้จะช่วยติดตามการกระทำของกลุ่มเป้าหมายได้ครบทุกตัว ตัวอย่างง่ายๆ เช่นถ้ายอดขายเรา 1,000,000 บาท จากค่าโฆษณา 100,000 บาทนั้น ก็จะมีค่า ROAS สูงกว่า ยอดขาย 5,000 บาทจากการโฆษณา 1,000 บาท (และแน่นอนว่าความคุ้มค่าก็จะสูงกว่าด้วยเช่นกัน) โดย Target ROAS จะ bid หรือยอมประมูลราคาโฆษณาของเราตามจำนวนกำไรที่เราได้จากเงินที่เราลงทุนไป หรือ ROAS นั่นเอง (คิดจาก Total Conversion Value / Cost)
- Target Outranking Share
สำหรับกลยุทธ์นี้ เรียกเป็นภาษาไทยได้ว่า การเสนอราคาแบบส่วนแบ่งที่ชนะเป้าหมาย วิธีทำงานคือ Google Ads จะเพิ่มหรือลดราคาเสนอโดยอัตโนมัติเพื่อช่วยให้โฆษณาของคุณมีอันดับสูงกว่า โฆษณาของคู่แข่ง โดยกลยุทธ์นี้ จะสามารถทำงานได้กับแคมเปญประเภทค้นหาเท่านั้น และสามารถกำหนดคู่แข่งเป้าหมายได้เพียงรายเดียว เมื่อคุณชนะโฆษณาของคู่แข่งแล้ว อันดับของคุณก็จะอยู่สูงกว่าคู่แข่ง แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้เป็นการปรับอันดับโฆษณาโดยรวมของคุณ แต่เป็นการชนะคู่แข่งรายเดียวเท่านั้น
เป้าหมายของกลยุทธ์นี้ – กำจัดคู่แข่งอันดับต้นๆ
กลยุทธ์นี้มีเป้าหมายที่ชัดเจน และตรงประเด็นที่สุด เหมาะสำหรับการเลือกคู่แข่งที่ชอบอยู่อันดับต้นๆ และเป็นเจ้าการแข่งขัน ไม่ยอมลงมาข้างล่างเลย ทาง Google ก็จะดันโฆษณาของเราขึ้นไปแทนที่ โดยไม่สนกลยุทธ์อื่นๆ เช่น CPA หรือ ROAS ต่อให้เราตั้ง Limit ไว้ ก็ไม่สามารถทำอะไรได้ เราสามารถกำหนดได้แต่เพียงว่า เราอยากอยู่อันดับที่เท่าไหร่ และบ่อยขนาดไหน ทาง Google ก็จะปรับราคาเสนออัตโนมัติ แต่เราสามารถตั้งเพดาน Cost Per Click ไว้ได้ ว่ายอมจ่ายมากสุดที่เท่าไหร่ ซึ่งสำหรับผลลัพธ์ของกลยุทธ์นี้ อาจจะต้องรออย่างน้อย 1 สัปดาห์เลยทีเดียว
.
แต่ไม่ว่าจะแบบการตลาดแบบไหน Aday Marketing ก็สามารถช่วยคุณได้
จุดเริ่มต้นก้าวสำคัญของคุณ…ให้เราดูแลที่ Aday Markerting
https://www.www.adaymarketing.com/
#Adaymarketing #DigitalMarketingAgency