เจาะลึก “Customer Insight” ในแต่ละGen พาธุรกิจประสบความสำเร็จผ่านการเข้

เจาะลึก “Customer Insight” ในแต่ละ Generation เพื่อพาธุรกิจประสบความสำเร็จผ่านการเข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภค

การศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภค คือ การรวบรวมข้อมูลเพื่อการศึกษาพฤติกรรม การกระทำหรือกระบวนการตัดสินใจของผู้ที่ซื้อสินค้าและบริการ ข้อมูลส่วนนี้สำคัญและมีประโยชน์มากสำหรับผู้ประกอบการ เพราะจะทำให้รู้ Insight ของลูกค้า ช่วยให้แบรนด์เข้าใจความคาดหวังของผู้บริโภค ยิ่งรู้พฤติกรรมของผู้บริโภคมากเท่าไร ก็จะยิ่งเจาะกลุ่มลูกค้าได้มากเท่านั้น

ลูกค้าแต่ละกลุ่มไม่เหมือนกัน ต่างคนต่างมีความต้องการที่แตกต่างกันไป ดังนั้นเราต้องศึกษาฐานลูกค้าเพื่อให้เข้าถึงการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย ในความจริง พฤติกรรมของผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เกิดจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น ปัจจัยทางเศรษฐกิจสังคม ความชอบส่วนบุคคล และอื่นๆ วันนี้ Aday Marketing จะพามาทำความรู้จักคนในแต่ละ Generationกันค่ะ

เริ่มด้วยที่ เบบี้บูมเมอร์ (Baby Boomer) หรือคนที่เกิดในปี 1946-1964

เป็นช่วงวัยที่สงครามโลกครั้งที่ 2 เพิ่งจบไปหมาดๆ ส่งผลให้เกิดแนวคิดที่ต้องการสร้างคนกลุ่มใหม่ขึ้นมาแทนที่กลุ่มคนที่สูญเสียไปเพื่อให้ประเทศกลับมาเจริญก้าวหน้าอีกครั้ง พวกเขาถูกสอนให้ทำงานอย่างหนัก จึงมีความอดทนอย่างสูง ไม่ค่อยสะดวกสบายแบบคนยุคสมัยใหม่ 

กลุ่มนี้เป็นกลุ่มผู้บริโภควัยเกษียณหรือกำลังจะเกษียณอีกไม่กี่ปีข้างหน้า มีกำลังซื้อค่อนข้างสูง

รู้จักการปรับตัว แต่หลังจากผ่านเหตุการณ์เรื่องโรคระบาดอย่างหนัก คนกลุ่มนี้เริ่มมีเรียนรู้เทคโนโลยี และหันมาใช้ซื่อโซเชียลมีเดียอย่างจริงจัง 

โดยส่วนใหญ่คนกลุ่มนี้ชอบใช้แพลตฟอร์ม Facebook ซึ่งเป็นช่องทางในการรวบรวม ติดต่อกลุ่มเพื่อนผ่านช่องทางออนไลน์ และเลือกที่จะใช้มันเพื่อการช้อปปิ้งมากขึ้น แต่คนกลุ่มนี้จะเน้นการชำระเงินแบบเก็บปลายทาง มากกว่าการตัดผ่านบัตรเครดิตหรือการต้องกดลิงก์เพื่อไปที่หน้าแพลตฟอร์มอื่นๆ 

นอกจากนี้ คนกลุ่มนี้เป็นกลุ่ม Brand Royalty ถ้าเกิดได้ถูกใจสินค้าหรือการบริการใดๆแล้วล่ะก็…ก็จะเป็นลูกค้ากันไประยะยาว ไม่ค่อยเปลี่ยนใจอะไรง่ายๆ

กลุ่มวัยนี้ยังเป็นกลุ่มที่สนใจเรื่องการท่องเที่ยว และการดูแลสุขภาพ ดังนั้นสินค้าและบริการที่เหมาะกับการลงทุนในกลุ่มนี้คือ บริการท่องเที่ยว , สินค้าเพื่อสุขภาพ , ประกันสุขภาพ , ประกันชีวิต รวมถึงอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆ 

โดยสิ่งที่แบรนด์อาจจะต้องคำนึงถึงลูกค้ากลุ่มนี้คือ การออกแบบสินค้าให้เข้ากับข้อจำกัดของวัย เช่น อาจจะทำตัวหนังสือใหญ่ หรือมีขั้นตอนการบริการง่ายไม่ยุ่งยาก เป็นต้น 

โดยสรุปแล้ว “กลุ่มเบบี้บูมเมอร์ ชอบเข้าสังคม รักที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ แม้จะเข้าใจช้า แต่ก็เข้าใจนะ…”

ต่อไปที่ เจเนอเรชันเอ็กซ์ (Gen X) หรือคนที่เกิดในปี 1965-1980

เป็นช่วงวัยที่เป็นผู้ใหญ่เต็มตัว ต้องแบกภาระ หน้าที่ความรับผิดชอบสูงมากในการทำงาน และการดูแลครอบครัว พ่อแม่ที่สูงวัย และลูกๆที่กำลังโต ดังนั้นคน Gen นี้จึงให้ความสำคัญกับการใช้จ่าย การประหยัด การเงินของตัวเองในอนาคต แต่ถึงแม้คนกลุ่มนี้จะให้ความสำคัญกับความประหยัดเพียงใด แต่ถ้าเป็นสินค้าที่จำเป็นและอำนวยความสะดวกสบายในการใช้ชีวิต หรือแม้แต่สินค้าพรีเมียมราคาแพงขึ้นมาหน่อยแต่สินค้ามีคุณภาพ คุ้มค่ากับเงินที่ต้องเสียไป คนกลุ่มนี้ก็พร้อมที่จะใช้จ่ายมันโดยไม่ลังเล

หากเป็นกลุ่มผู้หญิงในช่วงวัยนี้ จะให้ความสนใจในผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับความงามและอาหารเสริม เพราะเป็นวัยที่เป็นผู้ใหญ่เต็มตัวดังนั้น สิ่งที่สำคัญคือการใส่ใจดูแลตัวเอง โดยมักจะทดลองสกินแคร์ใหม่ๆ รวมไปถึงการทำตามเคล็ด(ไม่)ลับต่างๆ เพื่อให้ตัวเองดูอ่อนเยาว์ขึ้น และจะดีมากหากหากแบรนด์นั้นๆมีการทำการตลาดเชิงสะสมคะแนน หรือระบบสมัครสมาชิก

ปัจจัยในการเลือกซื้อสินค้าของคน GenX เป็นกลุ่มคนที่มีความภักดีต่อแบรนด์ โดยจะให้ความสำคัญกับความคุ้มค่า ประหยัดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุด และที่สำคัญพวกเขายังเน้นเรื่องรูปลักษณ์และดีไซน์ที่สวยงาม

กลุ่มนี้นิยมช้อปปิ้งกับร้านค้าใกล้บ้าน ใกล้ที่ทำงาน และให้สำคัญกับข้อมูล การรีวิว ก่อนการตัดสินใจซื้อ และมักจะชอบรีวิวสินค้าบนโลกออนไลน์อีกด้วย

โดยสรุปแล้ว “กลุ่มGenX แบกรับภาระ ประหยัด แต่ยอมจ่ายแพงเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น”

มิลเลนเนียล (Millennials) Gen Y หรือคนที่เกิดในปี 1981-1996

ใครอยู่ใน Gen Y คุณไม่เด็กแล้วนะ!…เป็นกลุ่มคนที่พร้อมเข้าสู่วัยกลางคน คนกลุ่มนี้อาจต้องเจอกับความกดดันในหลากหลายด้าน เขาจึงให้ความสำคัญกับความสมดุลระหว่าง”การทำงาน” กับ “การใช้ชิวิตส่วนตัว” โดยยึดแนวคิด “work life balance”

เนื่องจากเป็นวัยนี้เป็นวัยที่กำลังเข้าสู่วัยกลางคน อาจด้วยอายุที่ค่อยๆเพิ่มขึ้น หลายๆคนจึงหันกลับมาสนใจสุขภาพกายและสุขจิตของตัวเองมากขึ้น เช่น การกินอาหารที่ดี , กินอาหารเสริมหรือวิตามินบำรุงร่างกาย , การออกกำลังกายมากขึ้น และการพยายามหาทางลดความเครียด หรือแม้แต่การดื่ม…แบบเมาทิพย์ คือดื่มเพื่อสนุก ไม่ได้เน้นเมาหัวทิ่มแบบสมัยวัยรุ่นแล้ว

Gen Yจึงเป็นช่วงวัยที่ให้ความสำคัญกับการใช้ชีวิตเป็นอย่างมาก

ชาว Gen Y ใส่ใจถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม แต่ถูกจำกัดด้วยค่าใช้จ่าย ดังนั้นผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาเพื่อความยั่งยืน 

จะตอบโจทย์คนวัยนี้ได้ดี สิ่งสำคัญคนเจนนี้อีกอย่างคือการบริการที่รวดเร็ว เพราะว่าลูกค้ากลุ่มนี้้ปลี่ยนใจเร็วมาก

และพวกเขาชอบออกไปทำกิจกรรมนอกบ้าน และแสดงไลฟ์สไตล์ผ่านโซเชียลมีเดีย

นอกจากนี้ กลุ่มคนเจนนี้ ยอมลงทุนให้กับที่อยู่อาศัย เช่น การซื้ออสังหาฯ การตกแต่งบ้านหรือคอนโดของตัวเอง

เพื่อให้มีมุมเซฟโซนส่วนตัว

กลุ่มนี้จะมีภาวะ Sunday Scaries การกลัววันอาทิตย์หรือกังวลเรื่องงานในสัปดาห์ถัดไป

พวกเขาเป็นนักวางแผน นั่นคือวางแผนการท่องเที่ยว แต่เป็นการท่องเที่ยวแบบระยะยาวนะ 

โดยสรุปแล้ว “กลุ่มGen Y ยึดแนวคิดWork Life Balance เกลียดวันจันทร์”

เจเนอเรชันซี (Gen Z) หรือคนที่เกิดในปี 1997-2012

ชาวGen Z รักที่เรียนรู้ในสิ่งที่ตัวเองชอบ เก่งในการหาความรู้ด้วยตัวเอง ผ่านช่องทางออนไลน์ โดยไม่ยึดติดกับการศึกษาภายในรั้วมหาวิทยาลัย เพราะคิดว่าการศึกษาไม่มีขอบเขต ไม่ยึดติดกับสายงานใดงานหนึ่ง เน้นสร้างรายได้และสะสมทักษะใหม่ๆ 

อาชีพของคนในฝันของ Genนี้คือ การหารายได้จากโซเชียลมีเดียหรือแพลตฟอร์มออนไลน์ เช่น youtuber หรือ Influencer นอกจากนี้คนกลุ่มนี้ยังใช้สื่อโซเชียลในการหาความรู้ โดยโปรยอดนิยมของคนเจนนี้คือ Fin-fluencer หรือผู้มีอิทธิพลทางความคิดด้านการเงินบนโลกดิจิทัล เช่น การลงทุนในคริปโตเคอเรนซี Tiktok จึงเป็นช่องทางยอดนิยมในการหาความรู้เพิ่มเติม

คนกลุ่มนี้ต้องการจุดยืนที่ชัดเจน และการตรงไปตรงมาจากเจ้าของแบรนด์ โดยมักจะเลือกแบรนด์ที่กล้าจะแตกต่าง

แต่ยังใส่ใจสิ่งแวดล้อม

ในเรื่องการท่องเที่ยว กลุ่มนี้ก็เป็นกลุ่มที่รักการท่องเที่ยวไม่แพ้กัน พร้อมที่จะเดินทาง ไม่กลัวต่อสภาวะต่างๆรอบตัวและจะต้องทำลายสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด โดยทริปที่พวกเขาเหล่านี้ชอบ ส่วนใหญ่เป็นทริปผจญภัยหรือOut door

โดยสรุปแล้ว “กลุ่มGen Z รักเรียนรู้ด้วยตัวเอง ครีเอเตอร์สูง ชอบแบรนด์ที่มีจุดยืน”

เจเนอเรชันอัลฟา (Alpha) หรือคนที่เกิดปี 2012-2024

เนื่องจากเกิดเหตุการณ์โรคโควิดระบาดที่ผ่านมา ทำให้ต้องกักตัวอยู่ที่บ้าน หลายๆคนในวัยนี้จึงออกไปเล่นนอกบ้านน้อยลง และอยู่กับโซเชียลมีเดียมากขึ้น เข้าถึงข้อมูลข่าวสารผ่านทางออนไลน์ เรียกได้ว่าเกิดมาท่ามกลางยุคดิจิทัลเลยก็ว่าได้ 

เด็กเจนนี้มีความเป็นตัวของตัวเองสูงมาก กล้าที่จะถาม และเริ่มที่จะสนใจประเด็นทางสังคม

กลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะเป็นผู้บริโภคที่เบื่อง่าย มีความอดทนต่ำ ไม่ชอบความซ้ำซากจำเจ และอารมณ์ร้อน

ดังนั้นแบรนด์ที่จะเจาะตลาดคนกลุ่มนี้ได้ต้องเป็นแบรนด์ที่พร้อมในทุกด้าน และเด็กวัยนี้มีแนวโน้มที่สนใจผลิตภัณฑ์ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมทั้งทางตรงและทางอ้อมมากที่สุด

โดยสรุปแล้ว “กลุ่มGen Alpha โตมาในโลกเทคโนโลยี กล้าที่จะแสดงออก ตระหนักถึงประเด็นทางสังคม”

Share

Share on facebook
Share on twitter
Share on linkedin